กว่าจะได้โลดแล่นบนเส้นทางการแข่งขันวิ่งของสุนัข ต้องฝึกหนักแค่ไหน

เมื่อพูดถึงการวิ่งแข่งหมา หลายคนคงนึกถึงเจ้าเกรย์ฮาวด์เพรียวลมกับมัดกล้ามเนื้อที่กระชับสวยงามวิ่งโจนทะยานไปบนสนามแข่งอย่างสง่างาม แต่รู้ไหมว่ากว่าที่มาอยู่ในจุดนี้ได้ต้องมีการฝึกซ้อมกันหนักขนาดไหน ความสม่ำเสมอของทั้งผู้ฝึกและของสุนัขเองที่ต้องทำการฝึกซ้อมควบคู่ไปกับการทดลอง สังเกตผลจากโปรแกรมการฝึกนั้นเป็นระยะ ๆ จะช่วยให้เจ้าเกรย์ฮาวด์มีพัฒนาการขึ้นได้ การเพิ่มชั่วโมงในการฝึกให้ร่างกายได้ซึมซับผลจากการฝึกที่เหมาะสม และไม่หนักจนเกินไปกว่าที่ร่างกายจะรับได้ เป็นเรื่องที่ต้องให้ความละเอียดลออมากในการวางโปรแกรมฝึกซ้อม สุนัขสายพันธุ์นี้แม้จะมีจุดเด่นที่มีความเร็วสูง แต่จุดด้อยก็มีคือในเรื่องของสุขภาพที่มีโรคประจำสายพันธุ์อย่างเม็ดเลือดขาวต่ำ ที่ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติทำให้ผู้ฝึกต้องหมั่นสังเกตอาการเจ็บป่วยไปด้วย

ฝึกหมาวิ่งอย่างไรให้ได้ผลมากที่สุด ประหยัดเวลา แต่ได้ผลดีจริง

มีหลายวิธีในการฝึกหมาวิ่งและได้รับการพิสูจน์แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการว่ายน้ำ เดินบนลู่วิ่ง เดินหรือฝึกวิ่งควบม้าก็ใช้ได้ผลทั้งหมด สิ่งสำคัญคือความมุ่งมั่นในการแข่งขัน เป้าหมายในการพัฒนาที่ชัดเจน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะใช้การฝึกแบบใดก็ตาม แต่ในทุกวันสิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือการฝึกให้เจ้าเกรย์ฮาวด์ได้ฝึกวิ่งควบม้าเป็นประจำ เพื่อสร้างความคุ้นเคยในการวิ่งด้วยความเร็วสูง การเปลี่ยนบรรยากาศหรือสถานที่ฝึกวิ่งควบม้าจะทำให้สุนัขเกิดการปรับตัวให้พร้อมรับกับทุกสภาพก่อนการแข่งขัน และเมื่อต้องลงแข่งจริง ๆ จะเห็นได้ชัดเลยว่าพวกเขาทำได้ดีขึ้นกว่าครั้งที่ผ่าน ๆ มาการฝึกวิ่งควบม้า ผู้ฝึกควรทราบศักยภาพของเจ้าสุนัขนักวิ่งเสียก่อนด้วยการบันทึกสถิติที่ดีที่สุดของเขาอาจจะสัปดาห์ละครั้ง จากนั้นทำการฝึกตามโปรแกรม และอย่าลืมฝึกวิ่งควบม้าด้วยทุกครั้ง การวิ่งควบม้าในการฝึกซ้อมนั้นจะใช้กำลังในการวิ่งเพียงประมาณ 80% เท่านั้น เมื่อครบรอบที่ต้องบันทึกสถิติจึงจะให้วิ่งเต็มที่ 100% อีกครั้ง เป้าหมายไม่ใช่การเร่งให้เวลาในการวิ่งลดลง แต่เป้าหมายคือทำให้สถิติมีค่าคงที่ให้ได้นานที่สุด นั่นเป็นสัญญาณที่ดีที่บอกให้รู้ว่าสุนัขของคุณไม่ได้มีอาการบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยนะ

การฝึกต้องทำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อบาดเจ็บก็ต้องพัก

ในการวางโปรแกรมการฝึกซ้อมเพื่อให้สุนัขวิ่งได้เร็วขึ้นนั้นต้องทำเป็นประจำ ทุกโปรแกรมต้องสอดแทรกการฝึกวิ่งควบม้าด้วยความเร็ว 80% เสมอ เปลี่ยนสภาพสนามวิ่งบ้าง เพื่อให้สุนัขได้เกิดการปรับตัว และเคยชินในการเปลี่ยนแปลง ความหนักในการฝึกซ้อมนั้นควรฝึกแบบหนักสลับเบา เพื่อให้กล้ามเนื้อได้พัก มีวันพักบ้างในแต่ละสัปดาห์เพื่อเลี่ยงอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อจากอาการ Over training บันทึกสถิติเพื่อนำมาปรับปรุงโปรแกรมการฝึกซ้อมให้เหมาะสมเสมอ และทุกครั้งที่ลงสนามจริงก็อย่าลืมบันทึกสถิติด้วย เพื่อนำผลมาวิเคราะห์ต่อเป็นวัฏจักรและพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป