กีฬาแข่งหมา กีฬายอดนิยม จากยุคสู่ยุค

การแข่งขันวิ่งของสุนัขครั้งแรกที่บันทึกไว้ เกิดขึ้นข้างอ่างเก็บน้ำเวลส์ฮาร์ปเมืองเฮนดอนประเทศอังกฤษในปี พ.ศ. 2419 แต่การทดลองนี้ไม่ได้รับการส่งเสริมต่อยอด จนเริ่มมีการส่งเสริมกันอีกครั้งราวปี พ.ศ.2455 จากนั้นอีกไม่กี่ปีการแข่งขันก็เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้น จากอังกฤษขยายความนิยมไปยังสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่น ๆ ในละแวกใกล้เคียง สุนัขที่นิยมนำมาวิ่งแข่งขันกันเป็นสุนัขสายพันธุ์เกรย์ฮาวด์ เนื่องจากเป็นสุนัขที่มีรูปร่างเพรียวลม วิ่งได้รวดเร็ว ราว 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แถมมีความแข็งแรงมากอีกด้วย ซึ่งในภายหลังก็ได้มีการนำสุนัขสายพันธุ์อื่นมาแข่งมากขึ้น การแข่งได้เพิ่มความสนุกในการชมด้วยการกำหนดกติกาให้ตื่นเต้นมากขึ้นโดยกำหนดระยะทางในการวิ่ง และมีการแข่งขันทั้งแบบทางเรียบและแบบวิ่งข้ามสิ่งกีดขวาง

เกมการแข่งขันที่ดูมีสีสันมากขึ้น จากการกำหนดกติกาที่เป็นสากลยิ่งขึ้น

จากความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นทำให้การกำหนดกติกาให้เป็นสากลมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดให้สนามแข่งขันนั้นเป็นสนามที่ทำด้วยหญ้า เพื่อป้องกันในเรื่องอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดจากการแข่งขันที่อาจมีสุนัขล้มและไถลไปบนพื้น การแข่งขันที่จัดขึ้นช่วงเวลากลางคืนเพื่อลดผลของอาการเหนื่อยเกินไปจากอากาศที่ร้อนช่วงกลางวัน กีฬาแข่งขันวิ่งของสุนัขก็ยิ่งได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ แต่ในขณะเดียวกันในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 มีความพยายามที่จะยุติการแข่งขันวิ่งของสุนัข เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของสัตว์ และในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 มีเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่ยังคงมีการจัดการแข่งขันวิ่งสุนัขอยู่  แต่ก็ต้องทำภายใต้การควบคุมของรัฐ ทำให้เรื่องของค่าดำเนินการต่าง ๆ เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย จากกีฬาสู่ธุรกิจที่ไม่อาจปิดตัวได้ ผู้ประกอบการจึงยังคงต้องพยายามที่จะยึดยื้อกีฬานี้ต่อไปให้นานที่สุด เป้าหมายของการแข่งหมาที่ต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์

เป้าหมายที่แท้จริงที่ยังคงมีการแข่งขันสุนัขอยู่

เป็นกีฬาที่มีทั้งคนที่สนับสนุนและคัดค้านแต่เหตุผลจริง ๆ ในการคงการแข่งขันไว้คือเป็นสถานที่สำหรับการเล่นพนันที่ทำให้ถูกกฎหมาย ควบคู่ไปกับสนามม้า สำหรับประเทศเสรีด้านการพนันนั้นนับได้ว่าเป็นเรื่องปกติ แม้ว่าจะมีการเปิดให้นักพนันได้เข้าร่วมเล่นอย่างถูกกฎหมายแต่เจ้าของสนามแข่งจะทราบดีว่ารายได้ที่ได้มานั้นก็ต้องจ่ายให้กับรัฐไปไม่น้อยเลยทีเดียว ในกระแสการคัดค้านจะใช้เหตุผลด้านความปลอดภัยของสุนัขและเหตุผลทางด้านจริยธรรมเป็นสำคัญ ทางสมาคมที่เกี่ยวข้องจึงได้มีความพยายามที่จะกำหนดกฎ กติกา ที่เป็นสากล เอื้อในด้านความปลอดภัยให้กับสุนัขที่เข้าแข่งขันให้มากที่สุด เพื่อที่จะได้สามารถอนุรักษ์กีฬาแข่งสุนัขให้คงอยู่ไปให้นานที่สุด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของระยะทาง พื้นสนามแข่งขัน รวมถึงจำนวนของสุนัขที่เข้าแข่งขันต้องไม่แออัดหนาแน่นจนเกินไปนั่นเอง